MPLS
(Multi Protocol Label Switching)
MPLS - Multiprotocol Label Switching เป็นโปรโตคอลที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย The Internet Engineering Task Force (IETF) เพื่อให้การส่งต่อข้อมูลโดย IP แพ็กเก็ตนั้นลดกระบวนการต่าง ๆลง ให้คล้ายกับการส่งข้อมูลด้วยสวิตช์ และยังช่วยให้หน่วยประมวลผลหรือ ซีพียูของอุปกรณ์ทำงานลดลงตามไปด้วย สุดท้ายผลที่ได้คือ การส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งโดยไม่เกิดการล่าช้าโดยปกติการรับส่งข้อมูลด้วยเราเตอร์ที่ใช้ IP แพ็กเก็ตในการรับส่งข้อมูลนั้น จะมีส่วนหัวของแพ็กเก็ตที่ระบุที่อยู่ของต้นทางและปลายทาง การส่งต่อของแพ็กเก็ตจากต้นทางไปยังปลายทางสามารถเกิดความล่าช้าขึ้นได้ ปัญหาความล่าช้าที่สามารถเกิดขึ้นได้จากความเร็วในการค้นหาเส้นทางของที่อยู่ปลายทางของเราเตอร์ ไปจนถึงขั้นตอนและวิธีการส่งต่อ แพ็กเก็ตจากอุปกรณ์ตัวหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่ง
กระบวนการของ MPLS นั้นได้เพิ่มขั้นตอนอย่างหนึ่งเข้าไปใน IP แพ็กเก็ตเพื่อให้การส่งต่อแพ็กเก็ตเร็วขึ้น คือการใส่ป้ายชื่อหรือ Label เข้าไป การใส่ป้ายชื่อนี้เปรียบเสมือนกับการใส่รหัสไปรษณีย์เพิ่มเข้าไปในหน้าซองจดหมาย ผู้คัดแยกจดหมายไม่จำเป็นต้องดูว่าผู้รับเป็นใคร เพียงแต่แยกว่ารหัสไปรษณีย์รหัสไหนจะส่งต่อไปภาคไหน หรือจังหวัดไหนเท่านั้น จะเห็นได้ว่าการเพิ่มขั้นตอนเพียงบางส่วนเข้าไป จะสามารถไปลดเวลาการทำงานโดยรวมให้น้อยลงได้ แนวความคิดแบบนี้คล้ายกับวิธีการของ MPLS ที่เกิดขึ้นมาก็เพื่อลด Overhead ในการใช้งาน Virtual Circuit บนเครือข่าย TCP/IP ลงให้มากที่สุด ซึ่งจะเป็นการผนวกเครือข่าย ATM ซึ่งเป็นเครือข่ายแบบ Virtual Circuit Switching และใช้ ATM Switch ในเลเยอร์ที่ 2 เป็นหลัก เข้ากับเครือข่าย TCP/IP ซึ่งเป็นเครือข่ายแบบ Packet Switching และใช้ Router ในเลเยอร์ที่ 3 เป็นหลักเข้าด้วยกัน ประโยชน์ที่ได้รับก็คือการทำวิศวกรรมควบคุมการจรจรบนเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ จากเดิมที่โปรโตคอลสำหรับการกำหนดเส้นทางส่วนใหญ่ในเครือข่ายจะมองในส่วนของระยะทางเป็นหลัก แต่สำหรับ MPLS แล้ว จะมองที่ความสามารถในการไหลไปยังปลายทางของข้อมูลเป็นหลักแทน และมีกระบวนการกำหนดเส้นทางที่ฉลาดว่าผสมกับการใช้งานแบบ Virtual Circuit ที่มีลักษณะการส่งแบบ Streamline แทนการส่งแบบ Connectionless ทำให้สามารถแก้ปัญหาการจราจรบนเครือข่ายได้เป็นอย่างดี
เนื่องจาก MPLS มีการส่งแบบ Streamline ทำให้สามารถรับประกันเกี่ยวกับปริมาณข้อมูลต่อเวลาได้เป็นอย่างดี เพื่อใช้งานในลักษณะ Real-Time เช่น การถ่ายทอดภาพและเสียงผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้โดยทั้งภาพและเสียงมีคุณภาพใกล้เคียงกับ คุณภาพที่ได้จากการชมโทรทัศน์หรือฟังวิทยุเลยทีเดียว รวมทั้งสามารถที่จะกำหนดระดับของ QoS ให้เหมาะกับผู้ใช้งานแต่ละรายได้โดยง่าย สามารถใช้งานเป็น Tunnel ให้ VPN ได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก ISP ที่ต้องการให้บริการ VPN กับลูกค้าของตนสามารถกำหนด Virtual Circuit ระหว่าง ISP กับลูกค้าเพื่อเพิ่มคุณภาพให้กับ Tunnel แทน VPN แบบเดิม ๆ ที่วิ่งไปบนเครือข่ายตามมีตามเกิด เนื่องจากใช้งานแบบ Connectionless นั่นเอง สนับสนุนโปรโตคอลได้หลากหลาย ปัจจุบันนอกจากที่สนับสนุนเครือข่าย TCP/IP แล้วยังสามารถนำ MPLS ไปใช้กับเครือข่าย ATM และ Frame Relay หรือแม้กระทั้งใช้บนเครือข่ายทั้งสามซึ่งทำOverlayNetworkกันอยู่ก็ได้
การทำงานของ MPLS
ตัวอย่างวิศวกรรม ควบคุมการจราจรบนเครือข่ายด้วย MPLS
หลักการทำงานของ MPLS โดยสังเขปคือการสร้างระบบจัดเส้นทางของ Packet หรือการ Routing ขึ้นใหม่ภายในบริเวณของเครือข่ายที่กำหนด ซึ่งจะขอเรียกเส้นทางนี้ว่า LSP (Label Switch Path) โดยภายนิขอบเขตนี้ Packet ที่วิ่งเข้ามาจะถูกกำหนด Label ประจำตัวให้ใหม่ โดยไม่สนใจ Header เดิม (ซึ่งอาจเป็นของ TCP/IP) จากนั้นจึงวิ่งไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้ใน LSP สำหรับ Label ชุดนั้นๆ ซึ่งเส้นทางนี้เป็นไปได้ทั้งการกำหนดตายตัวล่วงหน้า และการกำหนดแบบเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งมีความซับซ้อนมากกว่าโปรโตคอลในการกำหนดเส้นทางของข้อมูลที่ใช้อยู่เดิมในเครือข่าย TCP/IP เช่นมีการคำนวณจากจำนวน hop ที่ส่งคำนวณจากเวลาที่ใช้น้อยที่สุด หรือพยายามให้ได้ตามเวลาจริง (Real-Time) เช่นสำหรับการส่งข้อมูลมัลติมีเดียและอื่นๆอีกมาก การทำงานจะทำได้เร็วกว่า Routing แบบเดิมเพราะ การคำนวณเพื่อจัดเส้นทางจะทำไว้ล่วงหน้า และเป็นอิสระจากการรับส่งข้อมูลแต่ละ Packet คือมีหน้าที่จัดเส้นทางใหม่ก็จัดไป เมื่อจัดเสร็จก็เก็บไว้ใช้งาน ส่วนหน้าที่รับส่งข้อมูลก็ทำไปเช่นกันไม่ยุ่งเกี่ยวกัน เมื่อมีข้อมูลเข้ามาถึงจะนำเส้นทางที่ได้เตรียมไว้มาใช้รับส่งข้อมูล เมื่อข้อมูลวิ่งมาถึงปลายสุดของ LSP ก็จะนำ Label ออกจาก Packet และปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ Header เดิมของ Packet ทำหน้าที่นำข้อมูลส่งถึงปลายทางที่แท้จริง
ข้อดีของ Multi Protocol Label Switching (MPLS)
o มีความเสถียรและปลอดภัยสูงในการรับ-ส่งข้อมูล
o มีปริมาณช่องสัญญาณ (Bandwidth) มากถึง 10 Gbps เพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มธุรกิจโดยเฉพาะ
o สามารถเลือกความเร็วได้ตั้งแต่ 64 Kbps-1 Gbps
o พร้อมรองรับ IP Application ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น VOIP, Routing Protocol, QoS, Multicast และ VDO Conference เพื่อตอบสนองชีวิตการทำงาน แบบที่จะเป็นที่นิยมในอนาคต โดยการรวมเทคโนโลยีต่างๆ ไว้เข้าด้วยกัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน
รูปแบบบริการ MPLS เพื่อองค์กร
1. MPLS point to point (VLL) เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อจากสาขาหนึ่งไปยังสาขาหนึ่ง (รูป)
2. MPLS point to multipoint (VPN) เหมาะสำหรับเป็นการเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่กับหลายๆ สาขา หรือแต่ละสาขาเชื่อมต่ออันเอง
ประโยชน์ของ MPLS VLL/VPN
- เรียบง่าย นำเสนอ
Design network solution ที่เรียบง่ายแก่ลูกค้า
- ขีดความสามารถ
Core Network สามารถรองรับ Bandwidth ขนาดใหญ่ได้
- สามารถวัดผลได้
ง่ายต่อการวัดผลหากมีการเพิ่มสาขาลูกค้าใหม่ๆ สู่ Network
- สามารถขยาย
VPN ได้ สามารถเชื่อมต่อกับ Provider รายอื่นๆ เพื่อขยาย VPN ได้
- ง่ายต่อการบำรุงรักษา
Design และ ฐานโครงสร้างที่เรียบง่าย ทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษา
- มีความยืดหยุ่น
มีความยืดหยุ่นสูง หากว่าสาขาจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปการเชื่อมต่อและวิธีการหาเส้นทาง
- ความคล่องตัว
เจ้าหน้าที่มีความคล่องตัว สามารถเข้าถึงสาขาต่างๆ ที่มี administration ได้
- ความมั่นคงปลอดภัย
มีความมั่นคงปลอดภัยเช่นเดียวกับ Leased Line/Frame Relay และ ATM
- น่าเชื่อถือ วางใจได้
Carrier Class สามารถทำให้ลูกค้าความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้
- เป็นที่นิยม
ผู้ปฏิบัติการด้าน telecom ทั้งหลายต่างก็เริ่มเปลี่ยนมาใช้ MPLS
ระบบ MPLS ในการติดตั้ง INTERNET
ตัวอย่างของระบบ MPLS ที่เหมาะสำหรับเจ้าของหอพัก คอนโด โรงแรม รีสอร์ต และโรงเรียน ในการติดตั้ง Internet
ตัวอย่างบริษัทที่นำบริการ MPLS ไปใช้งานในองค์กร
ทรู เปิดบริการ “MPLS Data Networking Solution” ผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายมาตรฐานระดับโลกจากซิสโก้ โชว์ศักยภาพผู้นำตลาดลูกค้าองค์กรและเอสเอ็มอี
กรุงเทพฯ, 8 พฤษภาคม 2549 - ทรู เดินหน้ารุกตลาดลูกค้าองค์กรและเอสเอ็มอี จับมือซิสโก้ สุดยอดผู้นำเทคโนโลยีเครือข่ายมาตรฐานระดับโลก ประกาศเปิดบริการใหม่ “MPLS Data Networking Solution” ผ่าน MPLS (Multi-Protocol Label Switching) เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในรูปแบบเครือข่ายไอพีที่ช่วยให้การเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสำนักงานง่ายยิ่งขึ้น ตอบรับการใช้งานขององค์กรที่มีสาขากระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ พร้อมเติมเต็มชีวิตคอนเวอร์เจ้นท์ให้ลูกค้าองค์กร และเอสเอ็มอีด้วยจุดเด่นของเทคโนโลยีที่พร้อมรองรับทุกบริการเสริมแห่งอนาคตได้อย่างครบวจร
นายทรงธรรม เพียรพัฒนาวิทย์ ผู้อำนวยการบริหาร ด้าน Corporate Solutions, Wholesales & Data บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ทรู ผู้ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมครบวงจร มุ่งมั่นในการสรรหานวัตกรรมและเทคโนโลยีเครือข่ายการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการในการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ และพร้อมรองรับบริการสื่อสารใหม่ๆ ในอนาคตของลูกค้าองค์กรและเอสเอ็มอีได้อย่างครบวงจร ล่าสุด ทรู จึงร่วมกับ ซิสโก้ ผู้นำเทคโนโลยีเครือข่ายสื่อสารระดับโลก ผนวกจุดเด่นของเทคโนโลยี MPLS ของซิสโก้ เข้ากับการบริการระดับมาตรฐานสากลของทรู สร้างสรรค์บริการ “MPLS Data Networking Solution” ซึ่งเป็นโซลูชั่นที่ช่วยให้การสื่อสารภายในองค์กรมีประสิทธิภาพสูงสุด”
บริการ “MPLS Data Networking Solution” เป็นโซลูชั่นใหม่ที่พร้อมรองรับความต้องการสื่อสารของลูกค้าองค์กร โดยเฉพาะองค์กรที่มีสาขากระจายอยู่ตามที่ต่างๆ และต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายเข้าหากัน เพื่อเพิ่มศักยภาพการสื่อสารภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และยังช่วยเติมเต็มและตอบสนองชีวิตการทำงานแบบคอนเวอร์เจ้นซ์ให้ลูกค้าองค์กรและเอสเอ็มอี ในการรวมเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาอำนวยความสะดวกให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน โดยสามารถรองรับแอพพลิเคชั่นต่างๆ ในอนาคตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น VOIP, Routing Protocol, QoS, Multicast และ VDO Conference นอกจากนี้ยังให้ความเสถียรภาพและความปลอดภัยสูงในการรับส่งข้อมูลอีกด้วย
นายวรกร ภัทรายานันท์ กรรมการผู้จัดการ ระดับภูมิภาคอินโดจีน บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ ภูมิภาคอินโดจีน กล่าวว่า “ทรู เป็นผู้ให้บริการด้านการสื่อสารในประเทศไทยที่มีการพัฒนาและคิดค้นบริการใหม่ๆออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีความเชื่อมั่นในเทคโนโลยีไอพีซิสโก้จึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาบริการใหม่ของทรูที่รองรับการสื่อสารทั้งดาต้าวอยซ์ และวีดีโอ โดยทรูเป็นรายแรกที่ลงทุนในเครือข่ายไอพีเน็ตเวิร์คความเร็ว 10 กิกะบิตในประเทศไทย และนับเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งในการนำบริการใหม่ที่ทำงานบนเทคโนโลยี IP/MPLS มาให้กับลูกค้า"หัวใจของเครือข่ายของทรูในบริการ IP/MPLS คือเราเตอร์ Cisco 12000 Series และสวิตช์ Cisco Catalyst 4500 Series ซึ่งผลิตภัณฑ์ Cisco 12000 Series เป็นเราเตอร์ที่มีคุณสมบัติสูงสุดในท้องตลาดปัจจุบัน ด้วยความสามารถที่หลากหลาย อาทิ ความสามารถในการรองรับการส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็วตั้งแต่ 2.5Gbps/slot ไปจนถึง 40Gbps/slot, ความสามารถในการรองรับเทคโนโลยี IP/MPLS และ EDGE ส่วนผลิตภัณฑ์ Cisco Catalyst 4500 Series เป็นอุปกรณ์สวิตช์ที่ช่วยเสริมความสามารถให้กับเครือข่าย EDGE ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่น เช่น สมรรถนะที่เชื่อถือได้, ซีเคียวริตี้ระดับแอดวานซ์, การบริหารจัดการที่ง่าย และความยืดหยุ่นทั้งในซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์Multiprotocol Label Switching หรือ MPLS เป็นเทคโนโลยีมาตรฐานที่พัฒนาขึ้นจากเทคโนโลยีแท็กสวิตชิ่งของซิสโก้ ซึ่งซิสโก้มุ่งมั่นคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆบนเทคโนโลยี MPLS อยู่ตลอดเวลา และเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีของ Cisco IOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการในเราเตอร์และสวิตช์ของซิสโก้ เทคโนโลยี MPLS คือคีย์สำคัญใน Virtual Private Networks (VPN) และ End-to-End Quality Of Service (QoS) ที่ผู้ใช้จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากเครือข่ายที่มีอยู่ ทั้งในเรื่องของปริมาณความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและความรวดเร็วในการแก้ไขเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นบนเครือข่าย MPLS ยังมีคุณสมบัติอื่นๆ อีก เช่น ความยืดหยุ่นสูง, การคอนฟิกที่ง่าย, การจัดการที่สะดวก และการรองรับความต้องการของทั้งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและผู้ใช้บริการ เทคโนโลยีนี้ยังรองรับการสื่อสารที่ความเร็วสูงสุดถึง 10 กิกะบิตต่อวินาทีด้วย
“สำหรับบริการ MPLS Data Networking Solution เปิดให้บริการใน 2 รูปแบบด้วยกัน คือ MPLS point to point (VLL) เป็นการเชื่อมต่อระหว่างสาขาหนึ่ง และ MPLS point to multipoint (VPN) เป็นการเชื่อมต่อหลายๆ สาขา หรือเชื่อมต่อกันเองระหว่างสาขา โดยมีหลายแพ็คเกจให้เลือกตามความเร็วในการเชื่อมต่อที่ต้องการใช้งาน ทั้งนี้ทรูพร้อมเปิดให้บริการในพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัดทั่วประเทศ” นายทรงธรรม กล่าวเสริม
“ทรูมุ่งเน้นการนำเสนอบริการที่มีคุณภาพสูงสุดสำหรับลูกค้าองค์กรและเอสเอ็มอี เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้บริการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ และยังสามารถรองรับบริการต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์ บริการ MPLS Data Networking Solution จึงเป็นอีกหนึ่งโซลูชั่นที่ทรูคัดสรรมาเป็นอย่างดีสำหรับลูกค้า เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารภายในองค์กร และเติมเต็มชีวิตการทำงานแบบคอนเวอร์เจ้นท์ ที่นำเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อเสริมให้การทำงานขององค์กรมีความคล่องตัวและเกิดประสิทธิผลสูงสุด” นายทรงธรรม กล่าวสรุป
อ้างอิงจาก :
Rick Gallaher’s MPLS Training Guide ผู้แต่ง Rick Gallaher’s
http://en.wikipedia.org/wiki/Differentiated_services
http://www.protocols.com/pbook/mpls.htm#MPLS
http://www.ietf.org/html.charters/OLD/diffserv-charter.html
http://qos.internet2.edu/may98Workshop/html/diffserv.html
http://www.cisco.com/univercd/cc/td/doc/cisintwk/ito_doc/mpls_tsw.htm
http://www.truecorp.co.th/
http://cpe.rsu.ac.th/
Free TextEditor
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น